การรักใคร่ชอบพอจนนำไปสู่การแต่งงานและจดทะเบียนสมรสเปรียบเสมือนการมีหลักฐานที่มั่นคงสำหรับชีวิตคู่ แต่สิ่งที่ต้องพึงระวัง โดยเฉพาะสถานการณ์ที่ผู้คนรู้จักกันง่ายผ่านโลกออนไลน์จนนำไปสู่การคบหาแต่งงาน และจดทะเบียนสมรสกันในที่สุด เพราะหากไม่ตรวจสอบให้ดีอาจพบว่าอีกฝ่ายมีคู่ครองที่จดทะเบียนสมรสชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้วหรือไม ทำให้ฝ่ายที่จดทะเบียนสมรสภายหลังถือเป็นการจดทะเบียนสมรสซ้อน โดยจะไม่มีสิทธิใดๆ ในทางกฎหมายรองรับเลย
ดังเช่นตัวอย่างต่อไปนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6186/2545ชายหรือหญิงที่ทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่แล้ว เป็นการสมรสที่ฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1452และทำให้การสมรสนั้นเป็นโมฆะตามมาตรา1495 ซึ่งมาตรา 1497ระบุว่าการสมรสที่ฝ่าฝืนมาตรา 1452 บุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งจะกล่าวอ้างขึ้น หรือจะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะก็ได้ ปรากฏว่าขณะที่ ท. จดทะเบียนสมรสกับจำเลยนั้นท.มีคู่สมรสคือ ป. อยู่แล้วการที่ท.มาจดทะเบียนสมรสกับจำเลยอีกโดยที่ยังมิได้หย่าขาดจาก ป. จึงเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1452 ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1495
Comments